ในแวดวงวิชาการของตะวันตก คำถามเรื่อง 'เมื่อใด' ได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นหลักครั้งแรกจากงานเขียนของวอล์กเกอร์ คอนเนอร์ ในบทความที่มีชื่อว่า "When is a nation?" ซึ่งพิมพ์ในวารสาร Ethnic and Racial Studies ในปี ค.ศ. 1990 เราจึงเลือกแปลบทความนี้ พร้อมทั้งใช้ชื่อบทความนี้เป็นชื่อของหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม แอนโทนี ดี. สมิธจะเขียนบทความในชื่อเดียวกันคือ "When is a Nation?" ที่พิมพ์ในวารสาร Geopolitics ใน ค.ศ. 2002 เพื่อโต้เถียงกับบทความของคอนเนอร์ที่พิมพ์ก่อนหน้านี้ถึง 12 ปี
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะเข้าใจการโต้เถียงระหว่างคอนนอร์และสมิธได้ดียิ่งขึ้น เราได้เลือกแปลบทความ "Mapping the Field: Theories of Nationalism and the Ethnosymbolic Approach" ของแดเนียล คอนแวร์ซี เนื่องจากคอนแวร์ซีเป็นนักวิชาการด้านชาตินิยมที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในงานของคอนเนอร์และสมิธ ที่สำคัญคือบทความของคอนแวร์ซียังได้อธิบายและให้บริบทต่อแนวทางศึกษาแบบชาติพันธุ์เชิงสัญลักษณ์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยสมิธเพื่อคัดง้างกับแนวทางศึกษาแบบสมัยใหม่นิยม เราจึงนำบทความนี้ของคอนแวร์ซีมาเป็นบทเเรก แล้วต่อด้วยบทของคอนเนอร์และสมิธ ตามลำดับ
ต่อมาเราได้พบหนังสือ When is the Nation?: Towards an Understanding of Theories of Nationalism ซึ่งมีอัตสึโกะ อิชิโจ และกอร์ดานา อูเซลัซ เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความที่นำเสนอในการประชุมประจำปีครั้งที่ 14 ของสมาคมเพื่อการศึกษาด้านชาติพันธุ์และชาตินิยม (The Association for the Study of Ethnicity and Nationalism ) เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 จัดขึ้นเนื่องในโอกาสเกษียณอายุของแอนโทนี ดี. สมิธ ซึ่งสอนหนังสืออยู่ที่ London School of Economics and Political Science โดยหัวข้อของการประชุมครั้งนั้นคือ 'When is the Nation?'
และเพื่อให้เกิดการสร้างบทสนทนากับสมิธ เราจึงได้เลือกแปลบทความของจอห์น เบรยยี่ในหนังสือเล่มนี้คือ "Dating the Nation: How Old is an Old Nation?" โดยที่เบรยยี่ซึ่งเป็นพวกสมัยใหม่นิยม นั้นมุ่งถกเถียงกับคำถามที่ว่า 'When is a Nation?' และการศึกษาแบบชาติพันธุ์เชิงสัญลักษณ์ของสมิธ
ปิดท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยบทความ "The Dawning of Nations" ของวอล์กเกอร์ คอนเนอร์ ซึ่งเป็นอีกบทในหนังสือเล่มเดียวกัน อันเป็นการวิจารณ์บทความของเบรยยี่โดยตรง โดยที่คอนเนอร์ซึ่งเป็นพวกรากเหง้านิยม แม้จะไม่เห็นด้วยกับนิยามเรื่อง 'ชาติ' ของทั้งเบรยยี่และสมิธ แต่เขากลับเห็นด้วยกับหลายสิ่งที่เบรยยี่อธิบายในบทความโดยเฉพาะเรื่องสำนึกของความเป็นชาติที่เกิดขึ้นกับมวลชน
ธเนศ วงศ์ยานนาวาซึ่งเป็นคนที่แนะนำให้เรารู้จักกับบทความ "When is a nation?" ของวอล์กเกอร์ คอนเนอร์ได้กรุณาเขียนบทนำขนาดยาวคือ "เมื่อตาบอดคลำ "Nation" ตะวันตก" เพื่อเป็นการปูพื้นและเล่าถึงเนื้อหาในบทความของคอนเนอร์ สมิธ และเบรยยี่เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่ผู้อ่านจะเริ่มอ่านบทความเหล่านี้ด้วยตัวเอง ธเนศยังเล่าถึงอิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อแนวคิดเรื่อง 'ชาติ' ในตะวันตกได้อย่างน่าพิศวง
ในแวดวงวิชาการของตะวันตก คำถามเรื่อง 'เมื่อใด' ได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นหลักครั้งแรกจากงานเขียนของวอล์กเกอร์ คอนเนอร์ ในบทความที่มีชื่อว่า "When is a nation?" ซึ่งพิมพ์ในวารสาร Ethnic and Racial Studies ในปี ค.ศ. 1990 เราจึงเลือกแปลบทความนี้ พร้อมทั้งใช้ชื่อบทความนี้เป็นชื่อของหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม แอนโทนี ดี. สมิธจะเขียนบทความในชื่อเดียวกันคือ "When is a Nation?" ที่พิมพ์ในวารสาร Geopolitics ใน ค.ศ. 2002 เพื่อโต้เถียงกับบทความของคอนเนอร์ที่พิมพ์ก่อนหน้านี้ถึง 12 ปี
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะเข้าใจการโต้เถียงระหว่างคอนนอร์และสมิธได้ดียิ่งขึ้น เราได้เลือกแปลบทความ "Mapping the Field: Theories of Nationalism and the Ethnosymbolic Approach" ของแดเนียล คอนแวร์ซี เนื่องจากคอนแวร์ซีเป็นนักวิชาการด้านชาตินิยมที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในงานของคอนเนอร์และสมิธ ที่สำคัญคือบทความของคอนแวร์ซียังได้อธิบายและให้บริบทต่อแนวทางศึกษาแบบชาติพันธุ์เชิงสัญลักษณ์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยสมิธเพื่อคัดง้างกับแนวทางศึกษาแบบสมัยใหม่นิยม เราจึงนำบทความนี้ของคอนแวร์ซีมาเป็นบทเเรก แล้วต่อด้วยบทของคอนเนอร์และสมิธ ตามลำดับ
ต่อมาเราได้พบหนังสือ When is the Nation?: Towards an Understanding of Theories of Nationalism ซึ่งมีอัตสึโกะ อิชิโจ และกอร์ดานา อูเซลัซ เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความที่นำเสนอในการประชุมประจำปีครั้งที่ 14 ของสมาคมเพื่อการศึกษาด้านชาติพันธุ์และชาตินิยม (The Association for the Study of Ethnicity and Nationalism ) เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 จัดขึ้นเนื่องในโอกาสเกษียณอายุของแอนโทนี ดี. สมิธ ซึ่งสอนหนังสืออยู่ที่ London School of Economics and Political Science โดยหัวข้อของการประชุมครั้งนั้นคือ 'When is the Nation?'
และเพื่อให้เกิดการสร้างบทสนทนากับสมิธ เราจึงได้เลือกแปลบทความของจอห์น เบรยยี่ในหนังสือเล่มนี้คือ "Dating the Nation: How Old is an Old Nation?" โดยที่เบรยยี่ซึ่งเป็นพวกสมัยใหม่นิยม นั้นมุ่งถกเถียงกับคำถามที่ว่า 'When is a Nation?' และการศึกษาแบบชาติพันธุ์เชิงสัญลักษณ์ของสมิธ
ปิดท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยบทความ "The Dawning of Nations" ของวอล์กเกอร์ คอนเนอร์ ซึ่งเป็นอีกบทในหนังสือเล่มเดียวกัน อันเป็นการวิจารณ์บทความของเบรยยี่โดยตรง โดยที่คอนเนอร์ซึ่งเป็นพวกรากเหง้านิยม แม้จะไม่เห็นด้วยกับนิยามเรื่อง 'ชาติ' ของทั้งเบรยยี่และสมิธ แต่เขากลับเห็นด้วยกับหลายสิ่งที่เบรยยี่อธิบายในบทความโดยเฉพาะเรื่องสำนึกของความเป็นชาติที่เกิดขึ้นกับมวลชน
ธเนศ วงศ์ยานนาวาซึ่งเป็นคนที่แนะนำให้เรารู้จักกับบทความ "When is a nation?" ของวอล์กเกอร์ คอนเนอร์ได้กรุณาเขียนบทนำขนาดยาวคือ "เมื่อตาบอดคลำ "Nation" ตะวันตก" เพื่อเป็นการปูพื้นและเล่าถึงเนื้อหาในบทความของคอนเนอร์ สมิธ และเบรยยี่เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่ผู้อ่านจะเริ่มอ่านบทความเหล่านี้ด้วยตัวเอง ธเนศยังเล่าถึงอิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่มีต่อแนวคิดเรื่อง 'ชาติ' ในตะวันตกได้อย่างน่าพิศวง