การเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 มาพร้อมกับการเกิดกระแสคิดครั้งสำคัญในโลกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1960 จาก S เป็น s ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือการเคลื่อนจากปัญหาเรื่อง ซับเจค ไปสู่ปัญหาเรื่องวัตถุ พูดง่ายๆ คือสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตมีผลกับมนุษย์หรือวัฒนธรรมของมนุษย์ยิ่งกว่าการกระทำของมนุษย์เอง เราอาจเรียกว่าเป็นการเคลื่อนย้ายจากความคิดแบบมนุษยนิยมไปสู่หลังมนุษยนิยมหรือ Post-humanism ซึ่งการศึกษา “วัตถุ” กลายมาเป็นประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวิทยาศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าการทำความเข้าใจระบบความหมาย คุณค่า บรรทัดฐานทางสังคมของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น ในสภาวะที่โลกกำลังเข้าสู่วิกฤตของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศหรือที่เรียกกันว่า “มนุษยสมัย” การสร้างความเข้าใจเสียใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านี้ก็ยิ่งต้องการฐานทางปรัชญาและภววิทยาแบบใหม่ๆ ด้วย สกุลความคิดที่เรียกว่า Object-Oriented Ontology หรือภววิทยาของวัตถุ นั้นกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งของการสร้างฐานความคิดในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์เหล่านี้ด้วย
การเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 มาพร้อมกับการเกิดกระแสคิดครั้งสำคัญในโลกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1960 จาก S เป็น s ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือการเคลื่อนจากปัญหาเรื่อง ซับเจค ไปสู่ปัญหาเรื่องวัตถุ พูดง่ายๆ คือสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตมีผลกับมนุษย์หรือวัฒนธรรมของมนุษย์ยิ่งกว่าการกระทำของมนุษย์เอง เราอาจเรียกว่าเป็นการเคลื่อนย้ายจากความคิดแบบมนุษยนิยมไปสู่หลังมนุษยนิยมหรือ Post-humanism ซึ่งการศึกษา “วัตถุ” กลายมาเป็นประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและวิทยาศาสตร์ไม่น้อยไปกว่าการทำความเข้าใจระบบความหมาย คุณค่า บรรทัดฐานทางสังคมของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้น ในสภาวะที่โลกกำลังเข้าสู่วิกฤตของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศหรือที่เรียกกันว่า “มนุษยสมัย” การสร้างความเข้าใจเสียใหม่เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านี้ก็ยิ่งต้องการฐานทางปรัชญาและภววิทยาแบบใหม่ๆ ด้วย สกุลความคิดที่เรียกว่า Object-Oriented Ontology หรือภววิทยาของวัตถุ นั้นกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งของการสร้างฐานความคิดในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์เหล่านี้ด้วย